ขอบคุณภาพจาก : www.electricianinstokeontrent.co.uk
อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ตัด หรือ ทริป บ่อย เพราะเหตุใด ?
หลายๆท่านอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว(RCBO) ภายในตู้คอนซูมเมอร์ซึ่งมัน “ตัด หรือ ทริปบ่อย” จนก่อให้เกิดความรำคาญ และส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่ต่ออยู่ในระบบเดียวกันอีกด้วย ก่อนที่เราจะไปแก้ปัญหานั้น เราต้องมาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าเพราะเหตุใด อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วนั้นทำงานอย่างไร และเพราะเหตุใดมันจึง “ตัด” หรือ “ทริป (Tripping)” บ่อย
จากรูป Working Principle of Residual Current Circuit Breaker ด้านบนแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทำงานของ RCCB – Residual Current Circuit Breaker ซึ่งจะทำงานเหมือนๆกันกับ RCBO – Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection โดยเมื่ออุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว RCCB หรือ RCBO ถูกติดตั้งอย่างถูกต้องและพร้อมใช้งานแล้ว เมื่อเราดันสวิชขึ้นเพื่อจ่ายไฟเข้าตู้คอนซูมเมอร์เพื่อกระจายไปยังลูกเบรกเกอร์ย่อย CB – Circuit Breaker
ซึ่งในปัจจุบันลูกเบรกเกอร์ถูกพัฒนาให้มีระบบตัดไฟอัตโมมัติเมื่อมีกระแสไฟรั่วไหลในวงจรย่อย และในขณะที่มีไฟเลี้ยงตู้คอนซูมเมอร์ตามปกติ และยังไม่มีโหลดทางไฟฟ้ามาต่อกับเต้าปลั๊กที่เดินสาย L (LINE) + N (Neutral) มาจากลูกเบรกเกอร์ลูกใดลูกหนึ่งในตู้คอนซูมเมอร์ ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว RCCB หรือ RCBO จะไม่มีการตัดหรือทริปใดๆทั้งสิ้น แต่เมื่อใดที่มีโหลดทางไฟฟ้ามาต่อใช้งาน จะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในวงจรทันทีตามรูปด้านล่างนี้ ฉะนั้นหากเราใช้ Clamp Meter วัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับที่สาย L (LINE) กับ N (Neutral) จะพบว่ากระแสจะเท่ากันทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งเป็นไปตามทฤษฏี Kirchhoff’s Current Law ซึ่งกล่าวไว้ว่า “กระแสไหลเข้า = กระแสไหลออก เสมอ” หรือ สามารถกล่าวได้ว่า ไม่ว่าเราจะทำการวัดกระแสจากสาย L (LINE) หรือ N (Neutral) ก็ตาม ค่ากระแสที่วัดได้ต้องเท่ากันจึงจะเรียกว่าไม่มีกระแสไฟรั่วไหลไปยังส่วนอื่นๆ
ในกรณีที่มีกระแสรั่วไหลในโหลดทางไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทำให้กระแสไฟฟ้าบางส่วนไหลไปยังส่วนอื่นๆของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะโครงเหล็ก สังเกตได้จากเวลาที่เรานำเอาหลังมือไปแตะๆกับโครงเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้าและเรายืนเท้าเปล่าอยู่บนพื้นปูน กระเบื้อง หรือ ดิน เราจะรู้สึกช้าๆเจ็บๆเหมือนถูกไฟดูด ซึ่งนั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่ามีกระแสไฟรั่วเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อเรานำ Clamp Meter มาวัดกระแสที่สาย L (LINE) กับ N (Neutral) ดู จะพบว่ากระแสไฟฟ้าขาเข้า-ออกไม่เท่ากัน และเมื่อเราใช้ Leakage Current Clamp Meter มาวัดรวบทั้งสาย L + N พร้อมกัน 2 เส้นตามรูปด้านล่างฝั่งขวานี้เราจะพบว่า
Leakage Current Clamp Meter จะมีค่ากระแสรั่วไหลแสดงขึ้นมาบนจอนั้นเอง และเมื่อมีโหลดทางไฟฟ้า หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในระบบเดียวกัน ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นอาจจะมีภาวะไฟรั่วอยู่ในเครื่องละนิดละหน่อยเมื่อนำกระแสรั่วไหลมาคิดรวมกันแล้ว หากถึงหรือเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้บนตัวอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว RCBO หรือ RCCB จากนั้นก็ลงเอยโดยอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วเหล่านี้ “ตัด หรือ ทริป” ทันที และก่อให้เกิดความรำคาญและความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเอง
เครื่องวัดสำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า
Centertek 265 & 266 True RMS AC Leakage Clamp Meter
Centertek 265 และ 266
แคลมป์มิเตอร์สำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งเหมาะสมมากในการวัดกระแสไฟรั่วที่มีปริมาณน้อยมากๆซึ่งตรวจวัดได้หากกระแสไฟรั่วมีค่ามากกว่า 0.001 mA หรือ 1 μA ซึ่งถือว่ามีความละเอียดในการวัดค่าที่ดีที่สุด นอกจากถูกออกแบบมาเพื่อวัดกระแสไฟรั่วได้ดีมากๆแล้วก็ยังมีฟังชั่นการวัดอื่นๆที่จำเป็นขั้นพื้นฐานมาด้วยอาทิ เช่น
อ้างอิง : www.measurementasia.com